มันสำปะหลังอินทรีย์

มันสำปะหลังอินทรีย์
แนวทางใหม่ในการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง

วันศุกร์, กรกฎาคม 29, 2554

มาปลูกมันมันสำปะหลังต้นทุนต่ำกำไรงามกันดีกว่า

ปลูกมันลงทุนไร่ละ 1,800 บาท 
ผลผลิต 10 ตัน/ไร่

เริ่มกันเลยดีกว่า ว่าทำกันอย่างไร

ขั้นตอนการปลูกมันสำปะหลังต้นทุนต่ำกำไรดี
1.   ขั้นตอนการเตรียมดิน ให้ใช้รถไถใหญ่ใช้ผาล 2 หรือผาล 3 ไถดะ ค่าไถไร่ละ 400 บาท ไถตากตากดินไว้ 7 วันเพื่อให้วัชพืชตายแล้วใช้ผาลชักร่องอ้อยตั้งระยะผาล 120 เซนติเมตรค่าไถไร่ละ 200 บาท เราก็จะได้ร่องสำหรับปลูกมันสำปะหลังระยะ 1.20 เมตร
สรุปขั้นตอนนี้ใช้งบประมาณ                          600  บาท

2.   ขั้นเตรียมต้นพันธุ์จะใช้ต้นพันธุ์ประมาณไร่ละ 200 ต้น ให้ตัดต้นพันธุ์ยาว 20 เซนติเมตร ต้นพันธุ์ 1ต้นจะตัดได้ 8-10 ท่อน ค่าต้นพันธุ์ต้นละ 2 บาท
สรุปขั้นตอนนี้ใช้งบประมาณ                          400 บาท

3.   ขั้นตอนการปลูกให้ตัดท่อนพันธุ์แล้วแช่ในน้ำยาเร่งการเจริญเติบโต ฮาร์โตะกรีน
อัตราการใช้ 100 ซี.ซี.ผสมน้ำ 20 ลิตรแช่ต้นพันธุ์ 30 นาที 1 ชั่วโมง ลงทุน 23 บาท
แล้วจ้างเหมาปลูกไร่ละ 300 บาท ให้ปลูกระยะ 80 เซนติเมตรปักต้นมันให้ลึก 10 เซนติเมตรหรือครึ่งหนึ่งของท่อนพันธุ์ปักลงไปตรง ๆ แล้วผลักให้ล้มเสมอดิน(เป็นวิธีการที่เราทดลองแล้วพบว่ามันสำปะหลังออกรากและลงหัวดีกว่าหลายวิธีที่เคยทำมา)
สรุปขั้นตอนนี้ใช้งบประมาณ                          323 บาท

     4. ขั้นตอนการให้ปุ๋ยทางดินเมื่อต้นมันปลูกไปได้ประมาณ 3 สัปดาห์หรือ 1 เดือนให้ปุ๋ยทางดินโดยการฉีดพ่น ฮิวมิก-ซี อัตรา 500 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร 1กระป๋องฉีดพ่นได้ 5 ไร่

สรุปขั้นตอนนี้ใช้งบประมาณ                          90 บาท
อธิบายขั้นตอนนี้เพิ่มเติมนะครับ การให้ปุ๋ยพืชมี 2 แบบนะครับคือให้ปุ๋ยทางดินและปุ๋ยทางใบ ขั้นตอนการให้ปุ๋ยทางดินเกษตรกรส่วนใหญ่จะให้ปุ๋ยเม็ดเป็นปุ๋ยเคมีเป็นส่วนใหญ่ซึ่งการใส่ปุ๋ยบางรายจะใส่ก่อนไถ แต่ส่วนใหญ่ที่พบจะใช้ปุ๋ยเม็ดหว่านบนสันรองที่เป็นสามเหลี่ยมซึ่งเมื่อเกษตรกรใส่ปุ๋ยบนสันร่องเนื่องจาก ปุ๋ยเป็นเม็ดมันก็จะกลิ้งลงท้องร่องทำให้มันสำปะหลังจะไม่ได้รับปุ๋ยตามที่ต้องการ ดูภาพนะครับ
จากภาพจะเห็นชัดใช่มั๊ยครับว่า ถ้าเราหว่านปุ๋ยเม็ดไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์โอกาสที่มันสำปะหลังจะได้กินปุ๋ยมีน้อยเพราะปุ๋ยมันกลิ้งลงท้องร่องหมด ก็คงไม่แปลกใช่มั๊ยครับที่เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกมันสำปะหลังได้แค่ 2-3 ตันต่อไร่เท่านั้นเอง



ถ้าท่านต้องการปลูกมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตสูงลองใช้วิธีการตามขั้นตอนที่ 4 ดูนะครับให้ฉีดพ่นลงดิน ฮิวมิก-ซี ซึ่งประกอบไปด้วยธาตุอาหารพืชที่ครบถ้วนและมีกรดฮิวมิกเป็นองค์ประกอบหลัก เรามาดูประโยชนของกรดฮิวมิก กันนะคับ

กรดฮิวมิก ไม่ใช่ปุ๋ย แต่ก็มีการนำมาใช้ร่วมกับปุ๋ยเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงดินทั้งทางกายภาพและทางเคมี 
สมบัติทางกายภาพ  กรดฮิวมิกจะรักษาโครงสร้างของดินให้อุ้มน้ำและระบายอากาศได้ดี  ในอนุภาคของดินที่มีความ เป็นดินเหนียวสูงจะมีประจุบวกและประจุลบอยู่อย่างหนาแน่น ทำให้มีแรงยึดเหนี่ยวสูง จึงส่งผลให้ดินมีความละเอียดและความหนาแน่นมาก ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อระบบรากของพืชที่จะดูดซึมแร่ธาตุอาหารและนำ กรดฮิวมิก สามารถปรับปรุงดินที่มีความเป็นดินเหนียวสูงเนื่องจากในโครงสร้างโมเลกุลของกรดฮิวมิก มีหมู่คาร์บอกซิล ซึ่งจะไปสร้างพันธะกับอนุภาคประจุบวกในดินที่มีความเป็นดินเหนียวสูง และทำลายแรงยึดเหนี่ยวระหว่างประจุบวกและประจุลบ ออกจากกัน ซึ่งก็จะทำ ให้ชั้นดินมีความโปร่งขึ ้น ส่งผลให้น้ำและอากาศหมุนเวียนถ่ายเทได้ดีขึ้น  นอกจากนั้นกรดฮิวมิก สามารถป้องกันไม่ให้น้ำระเหยไปจากดิน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่มีความสำคัญ เป็นอย่างยิ่งสำหรับดินที่มีความเป็นดินเหนียวต่ำ ดินทราย และดินในพื้นที่แห้งแล้ง ที่ไม่สามารถจะดูดซับน้ำไว้ได้ เมื่อดินที่มีลักษณะดังกล่าวมีน้ำผ่านเข้ามา ประจุบวกที่กรดฮิวมิกได้ดูดซับไว้จะสร้างพันธะกับประจุลบของน้ำคือออกซิเจน ส่วนประจุบวกที่เหลืออยู่ในน้ำคือไฮโดรเจนนั้นก็จะสามารถสร้างพันธะไฮโดรเจนกับอะตอมของออกซิเจนในน้ำโมเลกุลอื่นๆต่อๆไป
    หวังว่าคงเข้าใจแล้วใช่ไหมครับว่าทำไมเราต้องใช้ฮิวมิก-ซี เพราะฮิวมิกซีมีองค์ประกอบของกรดฮิวมิกมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์จึงสามารถทำให้ธาตุอาหารพืชที่เราพ่นลงไปอยู่ในดินได้นานนั้นเอง ลองเปลี่ยนดูนะครับจากเคยหว่านปุ๋ยเม็ดแล้วเรามาพ่นฮิวมิก-ซีกันรับรองผลผลิตมันสำปะหลังของท่านจะเพิ่มเป็น 2-3 เท่าแน่นอนครับ..ขอบอก
(หมายเหตุขั้นตอนนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยเคมีลงทุนประมาณ ไร่ละ 1,000 บาท)

5.   ขั้นตอนการให้ปุ๋ยทางใบ ขั้นตอนนี้เมื่อมันสำปะหลังอายุได้ 3 สัปดาห์ 1 เดือนให้ฉีดพ่น ฮาร์โตะกรีน อัตรา 50 ซี.ซี.ผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุก 7 วันอย่างน้อย 4 ครั้งจะทำให้ต้นมันสำปะหลังโตไวหนีหญ้าจะทำให้หญ้าโตไม่ทันและต้นมันสำปะหลังแข็งแรงพร้อมที่จะลงหัว
สรุปขั้นตอนนี้ใช้งบประมาณ                                152 บาท (ฉีดพ่น 4 ครั้ง)

6.   ขั้นตอนการให้ปุ๋ยทางดินรอบที่ 2 เมื่อมันสำปะหลังอายุ 3 เดือนให้ปุ๋ยทางดินโดยการฉีดพ่น ฮิวมิก-ซี อัตรา 500 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ให้ฉีดพ่นลงดินนะครับเน้นฉีดพ่นตรงบริเวณรอยแยกของดินเนื่องจากการลงหัวของมันสำปะหลัง
 สรุปขั้นตอนนี้ใช้งบประมาณ                               90บาท
ภาพแสดงการฉีด ฮิวมิก-ซี ลงดินแทนปุ๋ยทางดิน
7.   ขั้นตอนการสั่งมันสำปะหลังให้ลงหัว ขั้นตอนนี้สำคัญมากนะครับ
      หลายคนปลูกมันสำปะหลังมีแต่ต้นไม่มีหัว ก็เพราะว่าลืมสั่งให้มันลงหัว พอมันสำปะหลังอายุ 2-3 เดือนขึ้นจะพร้อมสะสมแป้งเพื่อเตรียมการหัวแต่ถ้ามันสำปะหลังได้รับปุ๋ยทางดินที่มีตัวหน้าสูงเกินไปก็จะทำให้ลงหัวไม่ดีหรือที่บางคนเรียกว่า มันบ้าใบขั้นตอนนี้ให้เราพ่น ซุปเปอร์แซท-วัน สารเพิ่มพลังการลงหัวในมันสำปะหลัง ซึ่งมีสารประกอบหลักคือ โพลี่แซคคาไรด์ สารตัวนี้เป็นองค์ประกอบของแป้ง เมื่อมันสำปะหลังได้รับสารตัวนี้ก็จะเริ่มลงหัวจะไม่บ้าใบอีกต่อไป อัตราการใช้ 50 ซี.ซีผสมน้ำ 20 ลิตรให้ฉีดพ่นอย่างน้อย 4 ครั้ง (ลองอ่านรายละเอียดเพิ่มเติ่ม เรื่องสารเพิ่มพลังการลงหัว ซุปเปอร์แซท-วัน นะครับ)
ภาพแสดงการพ่นซุปเปอร์แซท-1 สั่งให้มันลงหัว

สรุปขั้นตอนนี้ใช้งบประมาณ                                152 บาท (ฉีดพ่น 4 ครั้ง)
สรุปค่าใช้จ่ายทุกขั้นตอน
ขั้นตอน
งบประมาณ
1 เตรียมดิน
600
2 เตรียมต้นพันธุ์
400
3 ปลูก
323
4 ให้ปุ๋ยทางดินรอบแรก
90
5 ให้ปุ๋ยทางใบ
152
6 ให้ปุ๋ยทางดินรอบ 2
90
7  สั่งมันลงหัว
152
รวมงบประมาณ
1807

จากตารางจะเห็นว่า  ถ้าเราสามารถได้ผลผลิตมันได้ไร่ละ 1 ตันก็กำไรแล้วแต่ถ้าได้
ผลผลิต(ตัน)
ราคา (บาท/ตัน)
รายได้
1
3,000
3,000
3
3,000
9,000
5
3,000
15,000
10
3,000
30,000

พี่น้องเกษตรกรลงทำตามขั้นตอนที่บอกดูนะครับรับรองรายได้ดีแน่นอนครับ
                                                              คลิบขุดมัน 2
                            ถ้าปลูกมันได้อย่างนี้รวยแน่นอนมั๊ยครับพี่น้อง

วันพุธ, กรกฎาคม 27, 2554

สารระเบิดดิน ฮิวมิก-ซี (Humic- c) สุดยอดแห่งการปรับปรุงดินแห่งยุค

ฮิวมิก-ซี (HUMIC – C) สารปรับปรุงดินชนิดพิเศษ
ประกอบด้วย:
 ฮิวมิก แอซิด อะมิโน แอซิด  สาหร่ายทะเลน้ำลึก กรดซิลิเกต ฯลฯ ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชและช่วยในการปรับปรุงสภาพและโครงสร้างของดิน
ประโยชน์ :
1.     ทำให้รากพืชเจริญเติบโตได้ดี
2.     ต้นพืชเติบโตแข็งแรง เพิ่มผลผลิตสูงให้กับพืช
3.     ช่วยระเบิดดินทำให้ดิน โปร่งร่วนซุยสูง เหมาะแก่การเจริญเติบโตและการลงหัวของมันสำปะหลัง
4.     และเพิ่ม organic matter ให้กับดิน

วิธีการและอัตราการใช้ : 
1.       ใช้ฮิวมิก-ซี อัตรา500 กรัม ผสมน้ำ  200 ลิตรฉีดพ่นลงดิน
-  ครั้งแรกเมื่อมันสำปะหลังอายุได้ 1 เดือนนับจากวันปลูก
-  ครั้งที่ 2 เมื่อมันสำปะหลังอายุได้ 3 เดือนนับจากวันปลูก
2.       ฉีดพ่นเวลาไหนก็ได้ หลังฉีดพ่นแล้วให้น้ำตามหรือฝนตกจะดีมาก

หมายเหตุ : ในกรณีที่เกษตรกรต้องการประหยัดต้นทุนสามารถใช้ฮิวมิก-ซี แทนปุ๋ยทางดินได้
 1 กระป๋องพ่นได้ 5 ไร่ จะสังเกตุว่าต้นมันจะโตสม่ำเสมอแม้ไม่ได้ใส่ปุ๋ยทางดินเลยเพียงพ่น
 ฮิวมิก - ซี ลงดิน 1 ครั้งเท่านั้น     สนใจข้อมูลเพิ่มโทร
086-059-6790     hartothai@hotmail.com

ฮาร์โตะกรีน สารเพิ่มความเขียวทน เขียวนาน โตเร็ว ให้พืช

                   ฮาร์โตะกรีน (HARTO GREEN) สารเพิ่มพลังการเจริญเติบโต
          ส่วนประกอบสำคัญ : อุดมไปด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของต้นพืช อันได้แก่ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม กรดอะมิโน กรดฮิวมิก สาหร่ายทะเล ฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับพืช
 ประโยชน์ :
1.       ช่วยทำให้พืชเขียวทน เขียวนาน แตกใบอ่อน ยอดอ่อนได้ดี
2.       เพิ่มการกระจายตัวของรากพืช ทำให้พืชมีรากเป็นจำนวนมาก ทำให้พืชดูดอาหารได้ดี
3.       ทำให้ใบของพืชมีลักษณะใบใหญ่ใบหนา เพิ่มการสังเคราะห์ให้แก่ต้นพืช ทำให้ต้นพืชเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
4.       ช่วยต้านทานโรคและแมลงให้กับต้นพืช
5.       ช่วยปรับสภาพดิน ทำให้โครงสร้างของดินเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช
6.       ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวลง

      วิธีการและอัตราการใช้ :
1.    ใช้ฮาร์โตะกรีน 50 ซี.ซี.ผสมน้ำ 20 ลิตรหรือ 500 ซี.ซี.ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นช่วงเช้าหรือช่วงเย็น
2.    ฉีดให้เป็นละอองฝอยมากที่สุด ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งใบและลำต้น
3.    ควรฉีดพ่นทุก ๆ 7-15 วันหลังมันสำปะหลังเริ่มแตกใบอ่อนหรือหลังปลูกลงแปลงประมาณ 3 สัปดาห์ ฉีดพ่นอย่างน้อย 4 ครั้ง
4.    เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดควรฉีดพ่นร่วมกับ สารช่วยการดูดซึม นำทาง 2
5.    ใช่แซ่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก อัตรา 1 ลิตรผสมน้ำ 200 ลิตรแซ่ท่อนพันธุ์ 30 นาทีจะทำให้เพิ่มปริมาณจำนวนราก

ซุปเปอร์แซท-วัน (SUPER Z-1) สารเพิ่มพลังการลงหัว

สั่งมันฯลงหัวได้ดั่งใจ

ซุปเปอร์แซท-วัน (SUPER Z-1) สารเพิ่มพลังการลงหัว
ส่วนประกอบสำคัญ
        ประด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการลงหัวของพืช เช่น สารโพลี-แซคคาไรด์ โบรอนพืช กรดฮิวมิก สาหร่ายทะแลน้ำลึก กรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับพืชมากกว่า 10 ชนิด ฮอร์โมนพืช ฯลฯ
ประโยชน์ :
1.     กระตุ้นให้พืชมีการสะสมแป้งและน้ำตาลเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการลงหัว
2.     ช่วยกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนจากรากกลายเป็นหัวมากขึ้นกว่าเดิมจึงทำให้มันสำปะหลังมีหัวดกมากขึ้น
3.     มีฮอร์โมนพืชที่ช่วยให้หัวมันสำปะหลังขยายตัวทั้งแนวยาวและแนวนอน จึงทำให้หัวมันทั้งยาวและหัวใหญ่กว่าเดิมมาก
4.     ทำให้หัวมันสำปะหลังมีเนื้อแน่น ได้นำหนัก และป้องกันหัวมันแตกเนื่องจากขาดธาตุอาหาร
5.     เพิ่มคุณภาพให้ผลผลิต ทำให้เปอร์เซ็นต์แป้งและเอธานอลสูงมากขึ้นกว่าเดิม
6.        ลดช่วยอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตทำให้มันสำปะหลังเก็บเกี่ยวผลิตได้เร็วขึ้นกว่าเดิม สามารถเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไปได้เปอร์เซ็นต์มากกว่า  25 %
วิธีการและอัตราการใช้ :
50 ซี.ซีผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นทางใบทุก 7-15 วัน หลังจากพืชแสดงอาการพร้อมลงหัวซึ่งในมันสำปะหลังใช้หลังปลูก ประมาณ 2-3 เดือนควรฉีดพ่นอย่างน้อย 4 ครั้ง
ภาพแสดง ความสามารถของซุปเปอร์แซท-วันที่ทำให้รากมันสำปะหลังกลายเป็นหัวจำนวนมากทำให้มันสำปะหลังแต่ละต้นหัวดำมหาศาล สร้างความสุขใจให้กับเกษตรกรผู้ปลูก จาภาพมันสำปะหลังอายุ 4 เดือน


ภาพแสดง ความสามารถของซุปเปอร์แซท-วันที่ทำให้
หัวมันสำปะหลังยาวมากกว่า 1 เมตรต่อหัว ซึ่งฮอร์โมนพืชที่ผสมอยู่ในซุปเปอร์แซท-วันแสดงประสิทธิภาพได้อย่างสูงสุดทำให้หัวยาวได้น้ำหนักและมีเปอร์เซ็นต์สูงกว่า 30 %

วันอังคาร, กรกฎาคม 19, 2554






มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญตัวหนึ่งของประเทศไทยและปัจจุบันประเทศของเราก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ส่งออกมันสำปะหลังและผลิตภัณอันอันดับหนึ่งของโลกสร้างความร่ำรวยให้กับผู้ส่งออกกันไปตาม ๆ กัน แต่สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังแล้วแม้ว่าราคามันปะหลังจะเพิ่มสูงขึ้นกว่ากิโลกรัมละ 3 บาทหรือมากกว่าตันละ 3000 บาทแต่รายได้ที่ที่ได้รับก็ยังน้อยเหมือนเดิมเหตุผลข้อหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังไทยมีรายได้น้อยก็คือผลผลิตต่อไร่ต่ำนั่นเองโดยค่าเฉลี่ยเกษตรกรสามารถปลูกมันสำปะหลังได้ผลิตต่อไร่แค่ 2-3 ตันเท่านั้นรายได้เฉลี่ยต่อไร่ 6,000-9,000 บาทยังไม่หักต้นทุนและค่าแรงงานในการผลิต